วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติวอลเลย์บอลไทย

วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้
ปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น
ในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น.อ.หลวงสุภชลาศัย ร.น. ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้ง "สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย" (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี
ความมุ่งหมายของกีฬาวอลเลย์บอล
1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล
2. เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นทักษะเบื้องต้นต่างๆ ของกีฬาวอลเลย์บอลอย่างถูกต้อง
3. เพื่อให้มีควมสามารถในการเล่นทีมได้อย่างถูกต้องและฉลาด
4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกติกาเกี่ยวกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
5. เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์
6. เพื่อส่งเสริมให้มีนิสัยรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
7. ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา
8. เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนาน และเพลิดเพลินในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
9. เพื่อปลูกฝังนิสัยให้รู้จักกการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

ประวัติกรีฑา

กรีฑานับเป็นกีฬาเก่าที่เกิดมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะแต่ก่อนมนุษย์ไม่รู้จักทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่พัก ตลอดจนสร้างเครื่องนุ่งห่มเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์สมัยนั้นต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติ และความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิดและมีที่อยู่อาศัยแห่งเดียวกันคือ ถ้ำ ซึ่งเรียกว่า "มนุษย์ชาวถ้ำ"(Cave man) และที่แห่งนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของการกีฬา โดยที่มนุษย์เหล่านี้ต้องป้องกันตัวเองจากสัตว์ร้าย บางครั้งต้องวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ร้าย การวิ่งเร็วหากเทียบกับปัจจุบันก็คือการวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีต้องใช้เวลาในการวิ่งนานๆ ก็คือการวิ่งระยะยาวหรือวิ่งทน การวิ่งในที่นี้อาจรวมไปถึงการวิ่งเพื่อไล่จับสัตว์มาเป็นอาหารหรือการต่อสู้ระหว่างเผ่า ในบางครั้งขณะที่วิ่งมีต้นไม้หรือก้อนหินขวางหน้า ถ้าเป็นที่ต่ำก็สามารถกระโดดข้ามได้ ปัจจุบันคือ การกระโดดข้ามรั้ว และกระโดดสูง ถ้าต้องการกระโดดข้ามได้อย่างธรรมดาจำเป็นต้องหาไม้ยาวๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หิน และโหนตัวข้ามไปยังอีฝั่งหนึ่ง กลายเป็นการกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือแหลนหลาวที่ทำด้วยไม้ยาวๆ เป็นอาวุธพุ่งฆ่าสัตว์ ปัจจุบันก็กลายมาเป็นพุ่งแหลน หรือการเอาก้อนหินใหญ่ๆ มาทุ่มใส่สัตว์ ขว้างสัตว์ กลายมาเป็นการขว้างจักรในปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าการ วิ่ง กระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เหวี่ยง ที่พ่อแม่ หรือหัวหน้าเผ่าสั่งสอนถ่ายทอดให้ในสมัยนั้นมีไว้เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันในปัจจุบันก็มีเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ทำหน้าที่นี้คือ ครูอาจารย์และโค้ชนั่นเอง สมัยกรีก ชาวกรีกโบราณเป็นผู้ริเริ่มการเล่นกีฬาขึ้นหลายอย่าง เมื่อราว 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล กรีก คือชนเผ่าหนุ่มซึ่งอพยพมาจากทางเหนือเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรบอลข่าน และตั้งรกรากปะปนกับชาวพื้นเมืองเดิม แล้วสืบเชื้อสายผสมกันมาเป็นชาวกรีก ต่อมากรีกได้เจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดในด้านต่างๆ ทั้งด้านปรัชญา วรรณคดี ดนตรี และการพลศึกษา โดยเฉพาะด้านการพลศึกษา นับว่ามีบทบาทสำคัญในชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรีกอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศกรีกมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยภูเขา ความเป็นอยู่ในสมัยนั้นจึงเป็นไปอย่างหยาบๆ กรีกจะแบ่งออกเป็นรัฐ โดยแต่ละรัฐปกครองตนเอง และเมื่อแต่ละรัฐคิดที่จะแย่งกันเป็นใหญ่ จึงมีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ รัฐที่สำคัญและเข้มแข็งมีอยู่สองรัฐคือ เอเธนส์ และสปาร์ต้า ชาวกรีกมีความเชื่อในพระเจ้าต่างๆ หลายองค์ด้วยกันเช่น 1. เทพเจ้าซีอุส (Zeus) เป็นประธานหรือพระเจ้าองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาพระเจ้าทั้งหลาย 2. พระเจ้าอะธินา (Athena) คือเทพธิดาแห่งความเฉลียวฉลาด 3. เทพเจ้าอะพอลโล (Apollo) คือเทพเจ้าแห่งแสงสว่างกับความจริง 4. เทพเจ้าเฮอร์เมส (Hermes) คือเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร 5. เทพเจ้าอาเรส (Ares) คือเทพเจ้าแห่งสงคราม 6. เทพเจ้าอาร์ทีมิส (Artemis) คือเทพธิดาแห่งการล่าสัตว์ ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้าเหล่านี้สถิตอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส (Olimpus) คล้ายกับเป็นผู้ชี้ชะตาของชาวกรีก ชาวกรีกจึงพยายามที่จะเอาใจ ทำความเข้าใจ และสนิทกับพระเจ้า โดยการบวงสรวงหรือทำพิธีกรรมต่างๆ เพื่อฉลองพระเกียรติของพระเจ้าเหล่านั้น ดังนั้นเวลากระทำพิธีหรือมีงานฉลองมหกรรมใดๆ ชาวกรีกจะจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น ณ บริเวณยอดเขาโอลิมปัส แต่ต่อมาคนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก จึงย้ายสถานที่ลงมาที่ราบเชิงเขาโอลิมปัส เพื่อเป็นการถวายความเคารพบูชาต่อเทพเจ้าซีอุส ประธานแห่งเทพเจ้าทั้งหลายของตนอย่ามโหฬาร อนึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการบวงสรวงตามพิธีการทางศาสนาแล้ว ก็มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ขึ้นดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งการแข่งขันจะไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากนัก เป็นเพียงแข่งขันไปตามที่กำหนดให้เท่านั้นผู้ชนะของการแข่งขันก็ได้รับรางวัล ความมุ่งหมายในการแข่งขันของกรีกสมัยนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พลเมืองมีสุขภาพสมบูรณ์ และมีร่างการที่สมส่วนสวยงาม เมื่อกรีกเสื่อมอำนาจลงและต้องตกอยู่ภายใต้การครอบตรองของชนชาติโรมัน การกีฬาของกรีก เริ่มเสื่อมโทรมลงตามลำดับ จนถึงปี พ.ศ. 937 ธีโอดอซีอุส มหาราชแห่งโรมัน ประกาศห้ามชาวกรีก ประชุมแข่งขันกีฬาอีก จึงทำให้การเล่นกีฬาของกรีกต้องล้มเลิกไปเป็นเวลานานถึง 15 ศตวรรษ สมัยโรมัน ต่อมาในปลายสมัยของโฮเมอร์ มีชนเผ่าหนึ่งมาตั้งรกรากอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ด้านตะวันออกของกรีก ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นพวกโรมันชาตินักรบ มีความกล้าหาญอดทน และมีอิทธิพลยิ่งใหญ่ขึ้นมาพร้อมๆ กับความเสื่อมลงของประเทศกรีก ชาวโรมันนิยมและศรัทธาพลศึกษามากเป็นชีวิตจิตใจ เขาถือว่าพลศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชีวิตประจำวัน ชาวโรมันฝึกฝนบุตรของตนมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ให้มีความสามารถในเชิงดาบ โล่ห์ แหลน ในการสู้รบบนหลังม้า รวมทั้งการต่อสู้ประเภทอื่นๆ สนามฝึกหัดกีฬาเหล่านี้เรียกว่า แคมปัสมาร์ติอุส (Campusmartius) เป็นสนามกว้างใหญ่อยู่นอกตัวเมือง และมีสถานฝึกแข่งว่ายน้ำสำคัญเรียกว่า เธอร์มา (Therma) และมีสนามกีฬาแห่งชาติขนาดใหญ่ในกรุงโรมที่จุคนได้ถึง 200,000 คน เรียกว่า โคลิเซี่ยม (Coliseum) ชาวโรมันชายทุกคนต้องเป็นทหารในยามสงคราม เขาจึงฝึกพลศึกษาการต่อสู้แบบต่างๆ ในค่ายฝึกเสมอ ด้วยผลแห่งการฝึกพลศึกษา การกีฬา และเชิงรบแต่เยาว์วัยของประชาชน โรมันจึงมีกองทัพอันเข้มแข็ง และสามารถแผ่อำนาจเข้าครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และยุโรปตะวันตกบางตอน รวมขึ้นเป็นราชอาณาจักรโรมัน (The Roman Empire) ต่อมาราชอาณาจักรโรมันก็เสื่อมลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการ การเสื่อมความนิยมในพลศึกษาซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญข้อหนึ่งเพราะชาวโรมันกลับเห็นว่าพลศึกษาเป็นของต่ำ จึงเลิกเล่นกีฬาหันไปใช้พวกทาสแกลดิเอเตอร์ (Gladiators) ต่อสู้กันเองบางครั้งก็ต่อสู้กับสัตว์ร้ายและเห็นว่าการศึกษาวิชาการมีประโยชน์กว่าวิชาพลศึกษา ดังนั้นโรมันจึงกลายเป็นชาติที่อ่อนแอ จนถึงกับใช้ทหารรับจ้างในยามศึกสงครามแล้วในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ชนชาวติวตัน (Tue Ton) อันเป็นชาติที่นิยมกีฬากลางแจ้ง และมีร่างการแข็งแรงสมบูรณ์ สมัยปัจจุบัน พ.ศ. 2435 นักกีฬาชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง มีฐานันดรศักดิ์เป็น บารอน เปียร์(บางท่านอ่านว่าปิแอร์) เดอ กูแบรแตง (Baron Piere de Coubertin) ท่านผู้นี้มีความสนใจในการกีฬาอย่างยิ่ง ได้พิจารณาเห็นว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศเป็นการเชื่อมความสามัคคี ผูกมัดสัมพันธภาพระหว่างชาติต่างๆ ที่ร่วมการแข่งขันด้วยกัน เป็นการสมาคมชั้นสูง เพื่อแลกเปลี่ยนจิตใจของนักกีฬาอันแท้จริงต่อกัน ไม่มีการผิดพ้องหมองใจกัน ซึ่งการแข่งขันกีฬาโอลิมเปียดสมัยโบราณได้ยุติลงเมื่อ พ.ศ. 935 เป็นเหตุที่ทำให้ห่วงสัมพันธภาพในการกีฬาขาดสะบั้นลง และเป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ท่านผู้นี้จึงได้เชื้อเชิญสหายคือ ศาสตราจารย์ W. Stone แห่งสหรัฐอเมริกา Victor Black แห่งสวีเดน Dr. Jiriguch แห่งโบเฮาเมีย Sir Johe Astenley แห่งบริเตนใหญ่ ร่วมกันเปิดการประชุมกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ โดยยึดเอาอุดมคติแห่งความยุติธรรม อ่อนโยน สุภาพ มั่นคง และกำลังเป็นมูลฐานตามวัตถุประสงค์ของโอลิมเปียดโบราณที่ว่า Citus, Altius, Fortius (เร็ว, สูง, แรง) ผู้สนใจการกีฬาคณะนี้ได้ปรึกษาหารือกัน จนกระทั่งวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2437 จึงได้เกิดการประชุมใหญ่ ระหว่างผู้แทนประเทศต่างๆ ที่เมืองเซอร์มอนน์ ประเทศฝรั่งเศส และได้ประกาศตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Olympic Committee)และตกลงกันให้มีการชุมนุมกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกของสมัยปัจจุบันที่กรุงเอเธนส์ ประเทศ กรีก ใน พ.ศ. 2439 บารอน เปียร์ เดอ กูแบรแตง ได้มอบคำขวัญให้ไว้แก่การแข่งขันโอลิมปิกสมัยปัจจุบันนี้ว่า "สาระสำคัญในการแข่งขันโอลิมปิก ไม่ใช่การชนะ แต่สำคัญอยู่ที่การเข้าร่วมแข่งขัน 4 ปีต่อ 1 ครั้ง โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างประเทศในเครือสมาชิก" โดยความคิดของ บาริน เปียร์ เดอ กูแบรแตง ที่ได้รื้อฟื้นการแข่งขันโอลิมปิกขึ้น มิใช่เฉพาะเพื่อชัยชนะของผู้แข่งขันเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญ คือ การเข้าร่วมก่อให้เกิดสุขสันติภาพระหว่างชาติ และก้าวไปสู่สันติของโลก

ประวัติฟุตซอลไทย

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ประเทศในบางทวีปของโลกที่ประสบกับปัญหาหิมะตกและสภาพอากาศที่หนาวมากจนไม่สามารถจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้งต่างๆ ได้ รวมทั้งกีฬาฟุตซอลด้วย จึงถือเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันแต่เนื่องจากฤดูหนาวมีระยะเวลาที่ยาวนานและสภาพอากาศกลางแจ้งไม่เอื้ออำนวยต่อการเล่นกีฬาฟุตบอล จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนหันมาเล่นกีฬาในร่มแทน และนี่คือที่มาของกีฬาฟุตบอลในร่ม 5 คน หรือที่เรียกว่า “ ฟุตซอล” (FUTSAL )FUTSAL มาจากภาษาสเปน หรือ โปรตุเกส ที่เรียกว่าฟุตบอล ว่า “FUTbol” หรือ “FUTTEbol” ตามด้วยภาษาฝรั่งเศสและสเปน คือ “SALa หรือ SALon ที่แปลว่า อินดอร์ หรือในร่ม เมื่อรวมกัน จึงเป็นคำว่า “FUTSAL” หมายถึง การเตะบอลในสนามขนาดย่อมในร่ม กลายเป็นคำที่เรียกขานกันแทนคำว่า “Five-A-Side” หรือบอล 5 คนในปัจจุบันฟุตซอลมีการแข่งขันมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1930 ณ กรุงมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย เป็นเกมที่ชาวอเมริกาใต้นิยมเล่นกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศบราซิล ซึ่งประชากรมีทักษะความสามารถเฉพาะตัวในการเล่นฟุตบอลสูง ด้วยลีลาอันเร้าใจจากนักเตะชื่อก้องโลกอย่าง เปเล่ โซครา-เตส หรือซิโก้ ซึ่งต่างเคยเข้าแข่งขันฟุตบอลมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งต่างเคยเข้าแข่งขันฟุตบอลมาแล้วทั้งสิ้น
การแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในระดับนานาชาติ ค.ศ.1965 จัดการแข่งขันครั้งแรกในอเมริกาใต้ ประเทศปารากวัยได้แชมป์ทวีปอเมริกาใต้ค.ศ.1979 มีการแข่งขันชิงแชมป์ทวีปอเมริกาใต้อีก 6 ครั้ง โดยนักเตะแซมบ้า ประเทศบราซิลได้แชมป์ทุกครั้ง ค.ศ.1980 และ ค.ศ.1984 การแข่งขัน แพนอเมริกาคัพ โดยนักเตะแซมบ้า ประเทศบราซิลได้แชมป์ทั้งสองครั้ง ค.ศ.1982 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งแรก ณ กรุงเซาเปาโล ประเทศบราซิล และแชมป์ในปีนี้ก็คือ เจ้าถิ่นประเทศบราซิล นั่นเอง ค.ศ.1985 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งที่ 2 ณ ประเทศสเปน ประเทศบราซิลได้แชมป์ ค.ศ.1988 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งที่ 3 ณ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศบราซิลเสียแชมป์ให้แก่ประเทศปารากวัยเป็นครั้งแรก ค.ศ.1989 ต่อมาสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ได้เข้ามาดูแลการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดการแข่งขัน ณ ประเทศฮอลแลนด์ และประเทศบราซิลยังครองเป็นแชมป์ รองแชมป์ประเทศสเปน อันดับสามประเทศรัสเซีย ค.ศ.1992 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศฮ่องกง ประเทศบราซิลยังครองความเป็นแชมป์ รองแชมป์ประเทศสหรัฐอเมริกา อันดับสามประเทศสเปน ค.ศ.1996 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 3 ประเทศสเปน ประเทศบราซิลยังครองความเป็นแชมป์ ของโลกอย่างเหนียวแน่น รองแชมป์ประเทศฮอลแลนด์ อันดับสามประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ.2000 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 4 ณ ประเทศกัวเตมาลา ประเทศสเปนสามารถล้มแชมป์เก่าสามสมัยอันดับหนึ่งของโลก รองแชมป์ประเทศบราซิล อันดับสามโปรตุเกส ค.ศ.2004 การแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งที่ 5 ณ ประเทศไต้หวัน ประเทศสเปน ยังครองความเป็นแชมป์ รองชนะเลิศประเทศอิตาลี อันดับสามประเทศบราซิล กีฬาฟุตบอลจัดได้ว่าเป็นเกมกีฬาที่ยิ่งใหญ่และมีผู้ชมคลั่งไคล้กีฬาชนิดนี้มากที่สุดในโลก เนื่องจากฟุตบอลเป็นเกมที่สนุก ดูง่าย มีสีสันในการเชียร์ โดยเฉพาะในเกมสนามใหญ่ที่เราเรียกว่า เกม 11 คน นั้นเป็นที่นิยมทั้งในระดับสโมสร ในลีกของแต่ละประเทศและระดับนานาชาติ นั่นคือ การแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งในปัจจุบันนี้กีฬาฟุตบอลไม่แข่งขันเพียงแค่ในสนามใหญ่เท่านั้นยังมีการจัดการแข่งขันฟุตบอลในร่มที่เราเรียกว่า “ ฟุตบอล 5 คน” หรือ “ ฟุตซอล” (FUTSAL ) นั่นเอง การแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2540 ด้วยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายที่ช่วยกันผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในรายการ “STAR IN DOOR SOCCER 1997” เมื่อวันที่ 12 – 21 กรกฎาคม 2540 ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 ทีมสโมสรชั้นนำจากไทยแลนด์ลีกเข้าร่วมการแข่งขัน และทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทยชนะเลิศ ในปีต่อมาได้จัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ “ ทีมกรุงเทพมหานคร” ชนะแชมป์เก่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.2543 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตซอลขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยมีการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละภาคเพื่อนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่งขันกับทีมสโมสรชั้นนำจากไทยลีก ในการแข่งขันฟุตซอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งจากความสำเร็จในการแข่งขันครั้งนี้ทำให้กีฬาฟุตซอลเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ต่อมาประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย และจากการแข่งขันดังกล่าวทำให้ประเทศไทยได้อันดับสามและได้สิทธิ์เดินทางไปแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกรอบสุดท้าย ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2543 ณ ประเทศกัวเตมาลา ในปัจจุบันฟุตซอล ( FUTSAL ) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมและสนใจจากทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นเกมกีฬาที่ตื่นเต้น สนุกสนานในทุกๆ นาทีของการแข่งขัน และสามารถเล่นได้ตลอดปี ทุกสภาพอากาศทำ

เกล็ดความรู้

เกร็ดความรู้

การยิงลูกโทษเกิดขึ้นครั้งแรกจากความคิดของผู้รักษาประตูชาวไอร์แลนด์ วิลเลียม แม็คครูม (William McCrum) ในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยได้เสนอไอเดียกับ สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์ และได้มีการเสนอความคิดนี้ต่อให้กับ สมาคมฟุตบอลนานาชาติ ซึ่งมีการรับรองเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2434 และมีการใช้กันในช่วงฤดูกาล 1891-92
ในการแข่งขันฟุตบอลจะมีการยิงลูกโทษสองลักษณะคือ ลักษณะแรกการยิงลูกโทษระหว่างการแข่งขัน เกิดจากที่ผู้เล่นในฝ่ายรับทำฟาล์วผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามภายในเขตประตู โดยผู้ที่ยิงลูกโทษจะมีสิทธิยิงได้หนึ่งครั้งโดยเมื่อยิงเสร็จแล้วจะปล่อยให้เกมเล่นต่อตามปกติ ในลักษณะที่สองคือการยิงลูกโทษภายหลังจากหมดเวลาการแข่งขัน และทั้งสองฝ่ายมีคะแนนเท่ากัน จะทำการยิงลูกโทษในการตัดสินผู้ชนะ โดยการยิงลูกโทษลักษณะนี้จะ เริ่มต้นโดยผู้ยิงฝ่ายละ 5 คน สลับกันยิงลูกโทษ โดยถ้าไม่สามารถตัดสินกันได้ให้มีการยิงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ
โกลเดนโกล (Goalden goal) หรือ กฎประตูทอง เป็นกติกาในกีฬาฟุตบอลไว้ตัดสินหาผู้ชนะ ในเกมที่ต้องตัดสินผลแพ้ชนะ และการแข่งขันในเกมเสมอกันในช่วงเวลาปกติ (90 นาที) ปัจจุบันกฎนี้ไม่ถูกใช้ในเกมการแข่งขันของฟีฟ่าอีกต่อไปแล้ว- ถ้าใช้กฎโกลเดนโกล ในช่วงต่อเวลาพิเศษอีกครึ่งละ 15 นาทีนั้น ถ้าทีมไหนยิงประตูได้ก่อน ทีมนั้นจะชนะไปเลยโดยไม่ต้องแข่งขันต่อ แต่ถ้ายังยิงประตูกันไม่ได้จนหมดเวลา ก็จะเข้าสู่ช่วงยิงลูกโทษเพื่อหาผู้ชนะ- กฎนี้ถูกคิดขึ้นโดยฟีฟ่าใน ค.ศ. 1993 โดยใช้แทนคำว่า "ซัดเดน เดธ" (sudden death) เนื่องจากมีความหมายที่ค่อนข้างไปในทางลบ กฎนี้ถูกใช้ครั้งแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ปี 1996 และฟุตบอลโลก 1998- การแข่งขันครั้งแรกที่มีการยิงโกลเดนโกลคือ นัดระหว่างออสเตรเลียกับอุรุกวัย ในเดือนมีนาคม 1993 ในรอบก่อนรองชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนโลก สำหรับการแข่งขันสำคัญที่ตัดสินกันด้วยโกลเดนโกลคือรอบชิงชนะเลิศของยูโร 1996 โดยโอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์ ผู้เล่นของเยอรมนี ยิงโกลเดนโกลเอาชนะสาธารณรัฐเช็ค- กฎโกลเดนโกลมีจุดหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเล่นแบบรวดเร็วและชาญฉลาด และหลีกเลี่ยงการตัดสินด้วยจุดโทษ แต่ได้รับเสียงวิจารณ์ว่าทำให้ทีมเล่นฟุตบอลแบบเน้นการป้องกันมากขึ้น เพื่อลดโอกาสความพ่ายแพ้- ใน ค.ศ.?2002 ยูฟ่าได้นำกฎซิลเวอร์โกลมาใช้แทน โดยจะคล้ายกับกฎโกลเด้นโกล แต่จะไม่หยุดเกมเมื่อมีทีมยิงประตูได้ โดยจะเล่นจนจบครึ่งแรกของการต่อเวลาพิเศษแทน- ในปี 2004 ทางฟีฟ่าได้ยกเลิกกฎโกลเดนโกลหลังการแข่งขันยูโร 2004ที่ประเทศโปรตุเกส

ใบแดงในกีฬาฟุตบอลนั้น จะแสดงโดยผู้ตัดสินต่อผู้เล่น (หรือแม้กระทั่งผู้จัดการทีม) ที่ทำผิดกฏ กติกาการแข่งขัน โดยใบแดงเป็นสัญลักษณ์ของการไล่ออกจากสนาม ใบแดงนั้นมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดไม่ใหญ่นัก (ประมาณว่าสามารถใส่ในกระเป๋าเสื้อได้) ใบแดงจะเป็นกระดาษที่มีสีแดงทั้ง 2 ด้านตามชื่อวิธีแจกใบแดงของกรรมการคือ ในระหว่างการแข่งขัน ถ้ามีการฟาวล์เกิดขึ้น กรรมการจะเป่านกหวีดหยุดเกมชั่วคราว ถ้ากรรมการเห็นว่าการฟาวล์นั้น เป็นการทำผิดกติกาอย่างจงใจหรือทำฟาวล์อย่างรุนแรง กรรมการจะเรียกนักเตะคนนั้นมาหาตน จากนั้นกรรมการจะชูใบแดงขึ้น ถือว่าผู้เล่นนั้นได้รับใบแดงแล้ว และจะต้องออกจากสนามแข่งขัน การได้รับใบแดงนั้น อาจเป็นการได้รับใบแดงโดยตรง จากการกระทำผิดรุนแรง หรืออาจเป็นการถูกตักเตือน (ใบเหลือง) สองครั้งในการแข่งขันนัดเดียวกันถ้าผู้เล่นได้รับใบแดงก่อนการเริ่มเล่น สามารถส่งผู้เล่นสำรองทดแทนได้ แต่หากผู้เล่นถูกไล่ออกหลังจากเกมเริ่มแล้ว จะต้องออกจากสนาม และฝ่ายของผู้เล่นที่ถูกใบแดงจะมีผู้เล่นลดลง 1 คน (คือไม่สามารถส่งผู้เล่นลงแทนผู้เล่นที่ถูกใบแดงได้)

ฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย

ฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย

ประเทศไทยมีการจัดฟุตบอลอาชีพหลักคือ คือ ไทยลีกจัดการโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยในอดีตได้มีการแข่งขันโปรลีกจัดการโดยการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นการแข่งขันของทีมจากหลายภูมิภาคในประเทศไทยสำหรับทีมที่ชนะเลิศในไทยลีกจะมีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ที่เป็นการแข่งขันระดับทวีปเอเชีย และทีมที่ชนะในลีกนี้ก็จะมีสิทธิเข้าร่วมเล่นใน ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ ซึ่งเป็นการแข่งขันของทีมสโมสรในระดับโลก ในขณะเดียวกันทีมรองชนะเลิศจากไทยลีกจะไปร่วมเล่นใน เอเอฟซีคัพ

เจ้าภาพการแข่งขัน

ประเทศไทย ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลในระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้แก่เอเชียนคัพ - เจ้าภาพ 2 ครั้ง - 1972, 2007 (เจ้าภาพร่วม)ฟุตบอลเอเชียเยาวชน - เจ้าภาพ 10 ครั้ง - โดย 9 ครั้งจัดที่กรุงเทพ และ 1 ครั้งจัดที่เชียงใหม่ - 1961, 1962, 1967, 1969, 1972, 1974, 1976, 1980, 1982, 1998 (เชียงใหม่)ฟุตบอลโลกหญิงเยาวชน - เจ้าภาพ 1 ครั้ง - 2004ฟุตบอลเอเชียหญิง - เจ้าภาพ 2 ครั้ง - 1983, 2003นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันกีฬาที่สำคัญโดยมีการแข่งขันฟุตบอลร่วมด้วยเช่นใน เอเชียนเกมส์ และ ซีเกมส์ และยังมีการแข่งขันที่จัดขึ้นเป็นรายปีเช่น คิงส์คัพ ที่มีการเชิญทีมชาติอื่นมาร่วมเล่น